วันนี้ "ร้านตัดผ้าวราภรณ์ รับตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี ชุดแบบฟอร์ม ชุดทำงาน ชุดไทย และจำหน่ายอุปกรณ์ประเภท ซิบ กระดุม ด้าย อื่นๆอีกมากมาย ยังจำหน่าย กรอบรูป ขายปลีกและส่งและยังบริการรับถ่ายรูปด่วน ขยายรูป ล้างรูป รับทำนามบัตร เคลือบบัตร ปริ้นงาน เข้าเล่ม สันเกียว สันกาว ถ่ายเอกสาร สีและขาวดำ ขนาดไซต์กระดาษตั้ง แต่ A4-F14-B4-A3 และยังบริการ ย่อ ขยายเอกสารฯลฯรับถ่ายทำ วีดีโอ ในและนอกสถานที่ราคาเป็นกันเอง ร้านตัดผ้าวราภรณ์อยู่ตรงข้าม โรงเรียนอนุบาลบ้านผือพิทยาภูมิถนนชนบทบำรุงอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ร้านตัดผ้าวราภรณ์ เปิด ปิดเวลา 06.00-18.00น. ทางร้านเปิดให้บริการทุกวัน ติดต่ดสอบถามโทร 0806299771 email hs3ghd15.s@gmail.comแฟกช์ 042282304. >

สงกรานต์! รับมือโควิด-19 วันละแสน ห่วงกลุ่ม 608

สงกรานต์! รับมือโควิด-19 วันละแสน ห่วงกลุ่ม 608

ความกังวลต่อสถานการณ์ “โควิด-19” ระบาดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ ทั้งในส่วนของมาตรการควบคุมโรคและระบบสาธารณสุข จากฉากทัศน์ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขได้ประมาณการไว้ว่า หลังสงกรานต์อาจมียอดผู้ติดเชื้อสูงกว่า 1 แสนคนต่อวัน

เพื่อรองรับกับสถานการณ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ถอดบทเรียนจากอดีตเพื่อเตรียมพร้อมรับมือในส่วนที่เป็นบทบาทของ สปสช.ด้านการสนับสนุนต่างๆ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. อธิบายว่า มาตรการของกระทรวงสาธารณสุขในขณะนี้หากประชาชนตรวจ Antigen-Test Kit (ATK) แล้วมีผลเป็นบวก (สองขีด) หากไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 608 สามารถเดินทางไปยังหน่วยบริการใกล้บ้าน

เพื่อปฏิบัติตามมาตรการ “เจอ แจก จบ” ได้

แต่หากเป็นกลุ่ม 608 หรือไม่แน่ใจว่าควรทำอย่างไร และไม่ทราบเบอร์สายด่วนโควิดของจังหวัดที่อาศัยอยู่ สามารถโทร.มาที่สายด่วน สปสช. 1330

โควิด-19

สปสช.จะใช้มาตรการ “save 608” ในการบริการ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดจะดำเนินการให้เข้าระบบ Home Isolation (HI) และจะได้รับการดูแลโดยโรงพยาบาลจากที่บ้าน หรือบางกรณีอาจต้องได้รับการดูแลที่โรงพยาบาลก่อนก็สามารถทำได้เช่นกัน

สำหรับกลุ่ม 608 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการป่วยหนักและเสียชีวิต นพ.จเด็จ ย้ำว่า เราได้เพิ่มเบอร์พิเศษ รวมถึงเจ้าหน้าที่ให้โดยเฉพาะ...เมื่อโทร. 1330 แล้วให้กดตัวเลข 18 ทางเจ้าหน้าที่จะนำเข้าระบบทันที

“ตอนนี้ สปสช.ได้ประสานโรงพยาบาลไว้กลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ...ปริมณฑล เพื่อที่จะเปิดเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง ซึ่งอยู่ในกลุ่ม 608 และเด็กเล็ก โดยขณะนี้ยังใช้เตียงส่วนนี้ไม่หมด แต่เราอาจเตรียมมาตรการตรงนี้เพิ่มเติมเพื่อรองรับสถานการณ์ต่อจากนี้”

อย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นว่า ช่วงสงกรานต์คือช่วงที่แหลมคมและเป็นจุดเปลี่ยนต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด เชื่อว่า...ผู้ป่วยจะเพิ่มมากขึ้นหลังสงกรานต์ จึงได้วางแผนเตรียมการเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น

หนึ่ง...เพิ่มเจ้าหน้าที่สำหรับรับสายด่วน 1330 เนื่องจากมั่นใจว่าระบบรองรับได้แน่ แต่เจ้าหน้าที่อาจจะไม่พอ โดยเตรียมไว้ว่าหากมีคนโทร.มา 1 แสนสายต่อวัน จะเพิ่มเจ้าหน้าที่ส่วนนี้เป็นวันละ 2,000 คน ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันมีอยู่จำนวนประมาณ 850 คน

สอง...ยกเลิกระบบ IVR ทั้งหมด หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่ตอบโต้ช่วงแรกเมื่อโทร.เข้ามา โดยพบว่าการใช้ระบบนี้ประชาชนรู้สึกไม่สบายใจ...อยากคุยกับเจ้าหน้าที่มากกว่า

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเกิดกรณีสายที่โทร.มามีมากจริงๆ จนโทร.ไม่ติด แนะนำให้เข้าไปที่เว็บไซต์ สปสช. หรือแอดไลน์มาที่ @nhso เพื่อกรอกข้อมูล ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่อาสาสมัครวันละ 100 คนที่จะมาช่วย

และยังได้เตรียมอาสาสมัครอีกกว่า 3,000 คนที่พร้อมจะรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลังสงกรานต์ แม้ช่องทางการให้บริการจะมีมาก แต่ยืนยันว่าระบบการบันทึกข้อมูลของ สปสช.ไม่มีความซ้ำซ้อนแต่อย่างใด

จับตา...ช่วงหลังสงกรานต์หากเกิดกรณีหน่วยบริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑลรับไม่ทันเหมือนเมื่อเดือนที่แล้ว เราได้เตรียมบุคลากร ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์จำนวนหนึ่งที่เป็นคนรับโทรศัพท์ ภายหลัง 24 ชั่วโมง เราจะโทร.กลับไปเพื่อประสาน รวมถึงหากยังไม่ได้รับการติดต่อจากหน่วยบริการ เราจะโทร.สอบถาม

หากมีอาการเข้าเกณฑ์ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์เราจะขออนุญาตส่งยาไปก่อน โดยที่เราทำร่วมกับโรงพยาบาลบางแห่ง เช่น โรงพยาบาลราชวิถี ฯลฯ เป็นยาฟาวิพิราเวียร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งได้ทดลองมาแล้วเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน น่าสนใจว่าได้ผลตอบรับที่ดี

ส่วนระหว่างที่ประชาชนกลับต่างจังหวัดแล้วเกิดติดโควิด-19 ขอยืนยันว่าท่านสามารถเข้ารับบริการที่ใกล้ที่สุดได้ หน่วยบริการจะมาเบิกค่าใช้จ่ายจากสิทธิรักษาที่ท่านมีอยู่ เช่น สิทธิบัตรทอง 30 บาท เบิกจาก สปสช. ซึ่งครอบคลุมทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้องกลับมารับบริการหรือใบส่งตัวจากที่อยู่อาศัยเดิม

สำหรับการเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลในต่างจังหวัดซึ่งเป็นบทบาทของทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นั้นได้เตรียมการรองรับไว้แล้ว ที่ผ่านมาโรงพยาบาลในต่างจังหวัดไม่ค่อยมีปัญหาในการให้บริการเท่าไหร่ ส่วนมากปัญหาจะเกิดที่กรุงเทพฯและปริมณฑล เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก

“หากจำได้ เมื่อปีที่แล้วจะเห็นว่าช่วงหลังสงกรานต์มีนโยบายส่งคนไข้กับภูมิลำเนาด้วยซ้ำ แน่นอนว่าคราวที่แล้วพื้นที่ต่างจังหวัดมีผู้ติดเชื้อไม่เยอะ แต่ในครั้งนี้อาจเยอะขึ้น

แต่ต้องเรียนว่านโยบายรัฐบาลที่สำคัญตอนนี้ ตามที่นายกฯสั่งการคือใช้ save 608 เหมือนกันทุกโรงพยาบาล ถ้าไม่ใช่ 608 ให้ติดตามอาการแบบผู้ป่วยนอก เชื่อว่าสถานการณ์จะแตกต่างจากปีที่แล้ว”

นพ.จเด็จ ย้ำว่า กรณีถ้าหากกลับไปที่ต่างจังหวัดแล้ว หากรู้ตัวว่ามีความเสี่ยง ท่านสามารถรับชุดตรวจ ATK ที่หน่วยบริการได้ โดยขอดำเนินการผ่านแอปเป๋าตัง ซึ่งขณะนี้ได้ทำเป็นเฟสที่ 2 แล้ว

อยากเน้นย้ำว่าการไปต่างจังหวัดใดๆก็ตาม การป้องกันตนเองยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่ถ้าหากมีความเสี่ยงหรือติดเชื้ออย่างไร ระบบบริการมีความพร้อมในการที่จะดูแลทุกท่านทั่วประเทศได้เหมือนเดิม

ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เสริมว่า แนวทาง UCEP plus เพื่อดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเหลืองและสีแดง...ต้องเข้าใจก่อนว่าเดิม UCEP เป็นบริการที่ใช้มาตั้งแต่ 1 เม.ย.2560 ซึ่งใช้สำหรับกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขั้นวิกฤติ โดยจะรักษาจนพ้นภาวะวิกฤติ แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง และฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย จากนั้นจะทำการส่งต่อไปที่โรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา

สำหรับ “UCEP COVID” เกิดขึ้นหลังการแพร่ระบาดโรคโควิดซึ่งกระทรวงได้ประกาศให้ผู้ป่วยโควิดจัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยบริการครอบคลุมการรักษาผู้ป่วยทุกสีทุกกลุ่มฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วนล่าสุดคือ “UCEP plus” ได้ปรับเปลี่ยนเกณฑ์ โดยครอบคลุมผู้ป่วยที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสีเหลือง...สีแดง

โดยอาการที่เข้าเกณฑ์ เช่น มีไข้สูงกว่า 39 องศาฯ หายใจลำบาก มีออกซิเจนน้อยกว่า 94 ฯลฯ

“UCEP plus”...จะไม่ครอบคลุมผู้ป่วยโควิดสีเขียว ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถรับการรักษาได้ตามสิทธิของโรงพยาบาลที่กองทุนได้จัดไว้ให้ ซึ่งเข้าใจว่ากองทุนได้จัดบริการในการรักษาให้คนกลุ่มนี้อย่างทั่วถึงเรียบร้อยแล้ว และถ้าหากระหว่างการรักษามีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สามารถเข้ารับการรักษาผ่าน UCEP plus

โดยสามารถติดต่อผ่าน “1330” หรือ “1426” ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้เลย

หลังจากนี้มีการเพิ่มบริการ UCEP plus ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวซึ่งมีประมาณ 90% สามารถที่จะไปดูแลตัวเองที่บ้านผ่าน Home Isolation (HI) หรือหากไม่สะดวกยังมี Community Isolation (CI) ไว้รองรับผู้ป่วย

ทำให้ปริมาณเตียงที่มีอยู่ขณะนี้เพียงพอต่อการรองรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

นอกจากนี้แล้วการบริหารจัดการยังสามารถใช้เตียงสำหรับรักษาโรคอื่นๆได้อีกด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ ทำให้พี่น้องประชาชนซึ่งรอรับการรักษาโรคเหล่านี้เป็นเวลานานแล้วได้รับการรักษา

แม้ขณะนี้การระบาดจะไม่รุนแรงในแง่อาการ แต่ในแง่ปริมาณยังคงสูงอยู่มาก เนื่องจากติดกันได้ง่าย ซึ่งทุกคนควรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด...สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และการรับวัคซีนให้ครบ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะพัฒนาไปสู่การเป็น “โรคประจำถิ่น” ในอนาคต.

 

Please Select Embedded Mode To Show The Comment System.*

ใหม่กว่า เก่ากว่า

สื่อโฆษณา

บ้านนาสีนวลนิวส์
บ้านนาสีนวลนิวส์
บ้านนาสีนวลนิวส์