วันนี้ "ร้านตัดผ้าวราภรณ์ รับตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี ชุดแบบฟอร์ม ชุดทำงาน ชุดไทย และจำหน่ายอุปกรณ์ประเภท ซิบ กระดุม ด้าย อื่นๆอีกมากมาย ยังจำหน่าย กรอบรูป ขายปลีกและส่งและยังบริการรับถ่ายรูปด่วน ขยายรูป ล้างรูป รับทำนามบัตร เคลือบบัตร ปริ้นงาน เข้าเล่ม สันเกียว สันกาว ถ่ายเอกสาร สีและขาวดำ ขนาดไซต์กระดาษตั้ง แต่ A4-F14-B4-A3 และยังบริการ ย่อ ขยายเอกสารฯลฯรับถ่ายทำ วีดีโอ ในและนอกสถานที่ราคาเป็นกันเอง ร้านตัดผ้าวราภรณ์อยู่ตรงข้าม โรงเรียนอนุบาลบ้านผือพิทยาภูมิถนนชนบทบำรุงอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ร้านตัดผ้าวราภรณ์ เปิด ปิดเวลา 06.00-18.00น. ทางร้านเปิดให้บริการทุกวัน ติดต่ดสอบถามโทร 0806299771 email hs3ghd15.s@gmail.comแฟกช์ 042282304. >

บุกเดี่ยวหาเสียง สไตล์ “วรัญชัย” ลงพื้นที่กับมอเตอร์ไซค์คู่ใจ ถือโทรโข่งขอคะแนน

บุกเดี่ยวหาเสียง สไตล์ “วรัญชัย” ลงพื้นที่กับมอเตอร์ไซค์คู่ใจ ถือโทรโข่งขอคะแนน

  • “รางวัลประชาธิปไตยแห่งชาติต้องให้ผม” ไม่มีใครอีกแล้วที่จะเป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ยาวนานมากที่สุดในประเทศ
  • เป็นคนสายเลือดประชาธิปไตย ม็อบไหนก็ไปร่วมหมด เวลาไปร่วมชุมนุม มักให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ ให้ต่อสู้และให้ได้ประชาธิปไตย ขับไล่เผด็จการ
  • ป้ายหาเสียง โทรโข่ง ลังติดรูปกับมอเตอร์ไซค์คู่ใจ เอกลักษณ์ที่ไม่ซ้ำใคร และไม่มีใครเหมือน คล่องตัว หาที่จอดง่าย เวลาจอดติดไฟแดงคนเห็นชัดดี


เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย คนกรุงเทพฯ มักจะเห็นชื่อ นายวรัญชัย โชคชนะ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เบอร์ 22 ในนามอิสระ ติดอยู่ในลิสต์ของผู้สมัครเสมอ และรู้หรือไม่ว่า ปีนี้ นายวรัญชัย ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. มาแล้วเป็นสมัยที่ 7 เรียกได้ว่าสู้สุดใจทุกสนาม ขอท้าฟ้าท้าฝน ยืนหยัดไปให้ถึงฝันของการนั่งเก้าอี้พ่อเมืองให้ได้แบบไม่มีคำว่าท้อ

ในแวดวงสื่อมวลชน จริงๆ แล้ว นายวรัญชัย ถือเป็นคนที่สร้างสีสันและตามตื๊อสื่อเก่งที่สุด สื่อไม่ต้องไปหา แต่เป็นคนมาหาสื่อเองตามหมายต่างๆ ที่สื่อลงพื้นที่ โดยจะมาพร้อมรถมอเตอร์ไซค์สีเทาคู่ใจ พร้อมกระดาษ Press ไว้แจกสื่อมวลชน ในเรื่องที่อยากให้เป็นข่าว พร้อมทิ้งเบอร์เอาไว้ทิ้งท้าย เผื่อสื่อโทรมาหาต่อ

เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

มาวันนี้เขากลับมาสร้างสีสันในสนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.อีกครั้ง กับบุคลิกและเอกลักษณ์ในการหาเสียงที่ไม่เหมือนใคร เพราะเป็นผู้สมัครฯ คนเดียวที่ไม่มีรถแห่ หรือทีมงานเป็นแบ็กอัพช่วยหาเสียง แต่เขามาพร้อมกับการขี่รถมอเตอร์ไซค์ ติดท้ายด้วยลังแช่ของ เขียนชื่อและหมายเลขผู้สมัคร และรูปรับปริญญาแนะนำตัว แบบไม่มีใครซ้ำและไม่ซ้ำใคร ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ จึงขอนัดแนะติดตามลงพื้นที่ตามสไตล์วรัญชัยด้วย พร้อมพูดคุยถึงการหาเสียง เพื่อให้รู้ตัวตนที่แท้จริงของเจ้าตัวมากกว่านี้

ซึ่งเจ้าตัวก็นัดเรามาที่ซอยอารีย์ ย่านออฟฟิศ กลางใจเมือง แน่นอนว่าวันที่มาสัมภาษณ์กับเรา นายวรัญชัย ก็ไม่ลืมขี่รถมอเตอร์ไซค์สวมหมวกกันน็อก ขนอุปกรณ์หาเสียง และโทรโข่งมาด้วย 1 ตัว ซิ่งมาด้วยความเร็ว และมาหยุดตรงจุดนัดกับทีมงานของเราแบบใจหายใจคว่ำ

โวเป็นผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย

พอมาถึงเจ้าตัวขอจัดระเบียบร่างกายกันก่อน ถอดเสื้อแจ็กเก็ต ปัดผม ดูเสื้อผ้า จากนั้นแนะนำตัวกับเราว่า “ครับ ต้องขอกราบขอบพระคุณและกราบสวัสดีท่านพ่อแม่พี่น้องชาวกรุงเทพมหานคร ผมชื่อนายวรัญชัย โชคชนะ เป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร”

จากนั้นเล่าว่า เข้ามากรุงเทพฯ กับพ่อ ตั้งแต่ปี 2506 หรือเกือบ 60 ปีที่แล้ว โดยตนเองเคยรับราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี 2519 ถึง 2529 หรือ 10 ปีได้ พอปี 2533 จึงได้มาลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.เป็นสมัยแรก ต่อจากนั้นก็ยาวนาน สมัครมาจนถึงปัจจุบัน ไม่มีใครอีกแล้วที่จะเป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ยาวนานมากที่สุดในประเทศ

นายวรัญชัย ยังบอกอย่างภาคภูมิใจกับเราว่า ถ้ามีการเลือกตั้งเมื่อไหร่ คือต้องลงสมัครเมื่อนั้น ไม่ว่าจะเป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ส่วนการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.คราวนี้ ก็คิดว่าจะไม่ได้ลงเหมือนกัน เพราะค่าสมัครแพงมาก ถึง 50,000 บาท

“วันแรกผมก็ไป ไปดูเขาสมัคร เขาเห็นใจ ก็ถามผม เขาเลยสงสารผม ก็เลยรวบรวมเงินค่าสมัคร ก็เลยได้ค่าสมัครมา 50,000 บาท ก็ได้สมัคร” นายวรัญชัย เล่าไปยิ้มไป

เป็นคนสายเลือดประชาธิปไตย ม็อบไหนก็ไปร่วมหมด

“ผมเป็นคนติดตามการเคลื่อนไหวทางการเมือง” คือสิ่งที่นายวรัญชัยบอกกับเรา แล้วเล่าต่อว่า ผมชอบอย่างนั้น การชุมนุมที่ไหนเรียกร้องประชาธิปไตยเอาหมด ไล่ชื่อได้หมดเลย ไม่ว่าจะเป็น ธรรมศาสตร์และการชุมนุม ปลดแอก ราษฎร กลุ่มทะลุฟ้า กลุ่มทะลุแก๊ส กลุ่ม REDEM กลุ่มคาร์ม็อบ กลุ่มนักเรียนเลว เพราะตนเองถือว่าประเทศไทยเรียกตัวเองว่าปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นมันต้องเป็นประชาธิปไตย

ป้ายหาเสียง โทรโข่ง ลังติดรูปกับมอเตอร์ไซค์คู่ใจ

นายวรัญชัย บอกว่า การหาเสียงสไตล์วรัญชัยไม่มีอะไรมาก อันดับแรก คือ มีป้าย ที่ไม่มีใครในโลกอีกแล้วที่ผู้สมัครต้องมาหาเอง ดังนั้น “รางวัลประชาธิปไตยแห่งชาติต้องให้ผม”

อันที่สอง คือ โทรโข่ง บางทีใช้ไปใช้มาก็แบตหมด พร้อมสาธิตให้เราดู ปรากฏว่าพอทดสอบแล้วแบตหมดจริง โดยนายวรัญชัยทั้งทุบทั้งตีโทรโข่ง และพูดโหลๆ 123 อยู่นานสองนาน แต่ก็ไม่ดัง ก่อนจะบอกกับเราว่า “ไม่เป็นไร แต่เสียใจมาก” พอไปถึงที่บ้านต้องรีบชาร์จแบต

ส่วนอันที่สาม คือ ลังสีขาวติดท้ายรถ ที่ติดธงชาติไทย รูปรับปริญญาของตนเอง และเขียนชื่อ เบอร์ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. โดยบอกกับเราว่า อันนี้คนมองเห็นดี เวลาไปจอดติดไฟแดงที่ไหนก็พอได้

จากนั้นเจ้าตัวก็จัดแจงอุปกรณ์ พาขี่รถมอเตอร์ไซค์ไปหาเสียงพร้อมชูนิ้วเบอร์ 22 ไปตามถนน ดูผิวเผินไม่ใช่ “ไรเดอร์” ที่ไหนนะ แต่เป็นผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.เองจ้า วรัญชัยมาหาเสียงแล้ว พร้อมอธิบายว่า เวลาเข้ามาในกรุงเทพฯ 30 กว่ากิโลเมตร ถือว่าคล่องตัวดี ต้องยอมทนหน่อย ทนแดดทนฝนบ้าง แต่หาที่จอดรถง่าย โดยนานๆ จะเอารถเก๋งคันเก่าๆ ที่จอดอยู่ที่บ้านมาใช้สักที ถ้ามันจำเป็น

การเมืองกับเรื่องครอบครัว ไม่เคยมีปัญหากัน

“ตนเองกับครอบครัวไม่ค่อยมีปัญหาด้านการเมืองนะ เพราะเขาเข้าใจผม ผมไม่ได้ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน เขารู้ว่าผมเป็นคนชอบแบบนี้ มันเลยไม่มีปัญหา” เราเลยถามต่อว่า เรื่องอายุ สุขภาพ มีเป็นห่วงไหม? นายวรัญชัย ระบุว่า มันยังไปไหนมาไหนได้อยู่ แม้จะอายุ 70 ปีแล้ว แต่มันยังพอได้ ยังแข็งแรงดีอยู่ พร้อมยิ้มแล้วบอกต่อว่า เวลาจะไปม็อบ ตนเองมักให้คำแนะนำ และให้กำลังใจ ให้ต่อสู้และให้ได้ประชาธิปไตย ขับไล่เผด็จการ

“บางคนบอกว่าไม่จำเป็นไม่สำคัญ นั่นไม่ใช่เรื่องจริง ในเมื่อประเทศไทยเราเป็นประชาธิปไตย เราก็ต้องเอาคนที่เป็นประชาธิปไตย เช่นตัวอย่าง น้ำมันแพง ข้าวของแพงในขณะนี้ ถ้าได้คนเก่งมาจากเลือกตั้ง ป่านนี้ก็แก้ได้แล้ว แต่นี่ได้ใครไม่รู้ บ้าๆ บอๆ มาเป็น ลำบากมาก พวกนี้ใช้ไม่ได้” นายวรัญชัย กล่าว

เป็นผู้ว่าฯ ต้องมีบารมี อาวุโส และมีประสบการณ์

จากรถมอเตอร์ไซค์คู่ใจ เราเปลี่ยนให้นายวรัญชัยมาหาเสียงตามซอกซอยกับโทรโข่งสุดรักกันบ้าง ลีลาไม่ธรรมดา ชู 2 นิ้ว บอกเบอร์ 22 แล้วตะโกนบอกประชาชนตลอดทางว่า “วันนี้ผู้ว่าฯ ถือโทรโข่งมาด้วยตนเอง” เราเลยถามต่อว่า เวลาลงพื้นที่ชาวบ้านร้องเรียนปัญหาอะไรมากที่สุด? นายวรัญชัย รีบตอบทันที ปัญหาข้าวของแพง กับน้ำมันแพง

“ผู้ว่าฯ จะไปบอกว่า โอ๊ยย เรื่องนี้ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ว่าฯ หรอก ถ้าพูดอย่างนี้อย่ามาเป็นผู้ว่าฯ มันต้องช่วยเรื่องนั้นแพงให้ได้ ประสานงานกับกระทรวงพลังงาน ช่วยข้าวของแพง ประสานงานกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ต้องมีบารมี ต้องมีพวก ต้องเป็นอาวุโส ต้องมีประสบการณ์”

ปกติขี่มอเตอร์ไซค์คันนี้หาเสียง ปัญหาอะไรที่พบเจอบ่อยมากเวลาวิ่งอยู่ในกทม.?

อันดับแรกก็ไปไหนมาไหนตอนนี้ขุดถนนเยอะเหลือเกิน เรื่องนี้ไม่ค่อยมีใครพูด พอขี่ไป อ้าวเจอแล้ว เจอขุดแล้ว พอขุดปั๊บ เอาแท่งซีเมนต์สี่เหลี่ยมมาแปะๆ ไว้ พอเวลารถวิ่งมันก็ไม่ราบลื่น รถมอเตอร์ไซค์ก็ล้มพลิกคว่ำมาหลายรายแล้ว

ป้ายหาเสียงมันบดบังวิสัยทัศน์ในการขับขี่จริงไหม?

นายวรัญชัย กล่าวว่า เราต้องถือซะว่าช่วงเลือกตั้ง ก็ให้มันตื่นเต้นซะ ให้มันมีสีสันเยอะๆ เพราะถ้าไม่มีป้ายหาเสียงสิแย่ พร้อมยิ้มกรุ้มกริ่ม

ปัญหาอะไรที่กทม.แก้ไม่ได้บ้าง?

ปัญหาเรื่องหลัก คือ การบริหารคนกับบริหารเมือง คนคือ พวกเรร่อน พวกขอทาน พวกไม่มีจะกิน ต่อมาก็ตามมาด้วยแหล่งเสื่อมโทรม สลัม พวกที่อยู่ตามริมคลอง ตามใต้สะพาน ผมถึงบอกว่านโยบายของผม 4 ดี ก็มี “เกิดดี กินดี อยู่ดี ตายดี” ส่วนเรื่องเมืองก็คือ ทำถนนให้มันเรียบร้อย ฟุตปาท แสงสว่างให้มันดี ที่เห็นดีขึ้น ตนเองเห็นว่ามีขนส่งมวลชนดีขึ้น เช่น มีรถไฟฟ้าใต้ดิน บนดิน ซึ่งสมัยก่อนไม่มี “เสียอย่างเดียวคือแพง”

สอนวิธีเลือกผู้ว่าฯ ถ้าคิดไม่ออก อ้อนกาให้ “วรัญชัย”

ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.มาหลายสมัยแล้ว คิดว่าผู้ว่าฯ กทม.คนไหนดีที่สุด? นายวรัญชัย ระบุว่า ยังไม่ประทับใจคนไหน มีโผงผางหน่อยก็นายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งก็เสียชีวิตไปแล้ว เราเลยถามต่อว่า ถ้าเกิดว่าไม่ได้ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.ในครั้งนี้ จะเลือกใคร เบอร์ไหนเป็นผู้ว่าฯ กทม.ของปีนี้? “วิธีคิดก็คือ จะเอาคนเก่า หรือคนใหม่ล่ะ คนเก่าก็เอาคุณอัศวิน ชอบไหมล่ะ ถ้าชอบ ถ้าพอใจ ก็เลือกเขาไป ถ้าไม่ชอบ ไม่พอใจ ทำงานไม่ไหวอย่างนี้ ไม่ให้ต่อแล้ว คนใหม่ก็เอาไปสิ คุณชัชชาติ คุณวิโรจน์ คุณศิธา ทิวารี แต่ถ้าดูแล้วดูอีกไม่รู้จะเลือกใคร ใครไม่เหมาะ ก็หันมาสิ “วรัญชัย” คิดอะไรไม่ออกวันที่ 22 เข้าคูหากาเบอร์ 22 ครับ” นายวรัญชัย แนะนำตนเองพร้อมชูป้ายหาเสียงทิ้งท้ายแบบอารมณ์ดี.

ผู้เขียน : Supattra.l
กราฟิก : Anon Chantanant

คุณจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่ากทม.หรือไม่

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

{fullwidth}

Please Select Embedded Mode To Show The Comment System.*

ใหม่กว่า เก่ากว่า

สื่อโฆษณา

บ้านนาสีนวลนิวส์
บ้านนาสีนวลนิวส์
บ้านนาสีนวลนิวส์